มีความสงสัยกันมากในหมู่ผู้ใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีพลังงาน
ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นเพลง MP3 กล้องถ่ายรูป และอื่นๆ ว่า
ทำอย่างไรจึงจะทำให้แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟได้ที่มาพร้อมเครื่องมีอายุยืนยาว
เพราะเมื่อเสื่อมสภาพแล้วจะซื้อใหม่ราคาช่างเจ็บปวดหัวใจเสียเหลือเกิน
บางคนก็บอกว่า ให้ถอดแบตเตอรี่ออกใช้การเสียบอะแดปเตอร์แทน
วิธีการนี้อายุของแบตยิ่งจะไปเร็วเพราะไม่มีการกระตุ้นด้วยการใช้งานเลย
บางคนก็บอกว่า เสียบอะแดปเตอร์ไว้ตลอดเวลาจะได้ชาร์ทให้เต็มตลอดเวลา
นี่ก็ไม่เหมาะอีกเพราะยังไม่ได้คลายประจุออกมาก็อัดคืนเข้าไปแล้ว
แล้วจะทำอย่างไรดี?
นี่คือคำตอบ ที่ได้มาจากฝ่ายสนับสนุนฮาร์ดแวร์ของบริษัท แอบเปิ้ล
ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ Mac ชื่อดัง และโทรศัพท์ iPhone
เครื่องเล่นเพลงอย่าง iPod แนะนำมาอย่างนี้ครับ
การปรับแต่งแบตเตอรี่ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
เพื่อยืดอายุให้นานวันและมีพลังเพียงพอในการทำงานเสมอ
(โดยเฉพาะแบตเตอรี่ยุคใหม่ที่เป็น Lithion) ควรจะทำการ calibrate
ตามขั้นตอนดังนี้
1. เสียบปลั๊กเพาเวอร์อะแดปเตอร์ให้ชาร์ตแบตเตอรี่ให้เต็ม
จนกระทั่งไฟแสดงการชาร์ท หรือไอค่อนแสดงการชาร์ทในอุปกรณ์นั้นแสดงว่าเต็ม
100%.
2. ปล่อยให้มีการชาร์ทต่อไปอีกสัก 2 ชั่วโมง
ซึ่งในระหว่างการชาร์ทนี้คุณยังสามารถทำงานกับเครื่องอุปกรณ์ได้ตามปกติ.
3.
ถอดปลั๊กเพาเวอร์อะแดปเตอร์ แล้วใช้งานไปตามปกติจนกระทั่งแบตเตอรี่หมด
(ถ้าทำงานสำคัญให้หมั่นเซฟงานไว้ด้วย) จนกระทั่งแบตเตอรี่จ่ายไฟจนหมด
ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์จะมีกรอบหน้าต่างเตือน หรือเสียงเตือน (ถ้าตั้งค่าไว้)
ก็แค่กดปุ่มปิดกรอบแจ้งเตือนนั้น แต่ทำงานต่อไป.
4.
จนกระทั่งแบตเตอรี่หมดจริงๆ และเครื่องเข้าสู่ภาวะหลับ (sleep)
อย่าลืมเซฟงานสำคัญไว้ก่อนเมื่อมีการเตือนก่อนที่เครื่องจะหลับไป.
5.
ปิดเครื่องหรือปล่อยให้มันหลับไป ทิ้งไว้ประมาณ 5 ชั่วโมงหรือมากกว่า
ถ้ามีงานต้องทำอาจจะถอดแบตเตอรี่ออกแล้วใช้กำลังไฟจากเพาเวอร์อแด็ปเตอร์แทน
ได้ (ถ้าเครื่องนั้นทำได้
เพราะมีบางเครื่องถ้าถอดแบตเตอรี่ออกจะเปิดไม่ได้ก็มี
กรณีนี้ก็นอนหลับพักผ่อนเถอะ).
6. ครบ 5
ชั่วโมงแล้วเชื่อมต่อเพาเวอร์อะแดปเตอร์อีกครั้ง
ทำการชาร์ทไฟให้เต็มที่อีกครั้ง
แบตเตอรี่ของคุณจะกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง.
Tip: วิธีการนี้ผมลองทดสอบกับเครื่องโน้ตบุ๊คที่ใช้งานมาประมาณปีเศษ
จากที่เคยใช้งานได้นานสามชั่วโมงก็จะเหลือเพียงชั่วโมงเศษๆ
แบตเตอรี่ก็หมดประจุแล้ว เลยใช้วิธีการนี้ดูบ้าง
ปรากฏว่าทำให้แบตเตอรี่สามารถใช้งานได้เกือบสองชั่วโมง เลยทำการ calibrate
ซ้ำไปสี่ห้าครั้ง เรื่องไม่น่าเชื่อก็บังเกิด
แบตเตอรี่ก้อนนั้นสามารถกลับมาจ่ายประจุได้สามชั่วโมงอีกครั้งหนึ่ง
ทดลองดูซิครับ
อาจจะไม่ต้องเสียเงินห้าหกพันสำหรับแบตเตอรี่ก้อนใหม่ก็ได้นะครับ
จะทดลองทำดู....มันก็ไม่เสียหายอะไร มิใช่หรือครับ
ผมยังไม่ได้ลองดูนะครับ
แต่จากที่อ่านดูแล้วก็น่าจะเป็นการใช้พลังงานจากแบตเตอรี่จนหมด(Discharge)
แล้วประจุไฟแบต(Charge)เข้าไปใหม่